ประวัติ วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร
เจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต) ต้นสกุลกัลยาณมิตร ว่าที่สมุหนายก
ได้อุทิศบ้านและที่ดินบริเวณใกล้เคียง
ซึ่งแต่เดิมเป็นหมู่บ้านที่มีภิกษุจีนพำนักอยู่ และเรียกกันต่อมาว่า
"หมู่บ้านกุฎีจีน" สร้างเป็นวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๘ และน้อมเกล้าฯ
ถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
พระราชทานนามว่า "วัดกัลยาณมิตร"
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://sombanno.igetweb.com/?mo=3&art=412858
"พระสมเด็จวัดระฆัง กรุวัดกัลยาณมิตร" สร้างขึ้นและบรรจุในเจดีย์ต้นสกุลกัลยาณมิตรและสกุลประวิตร
แตกกรุเมื่อปี 2551 พระผงสมเด็จกรุวัดนี้จะพบมากมายหลายพิมพ์
พระสมเด็จวัดระฆัง กรุวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร ถูกบรรจุเจดีย์ลักษณะเป็นกรุแห้งหรือกรุลอย องค์พระลักษณะ คือ ผิวแห้ง เนื้อเปิดเห็นมวลสารชัดเจน รักระเบิด แตกต่างจากกรุบางขุนพรหม (กรุเปียก) อย่างชัดเจน ดังนั้นสำหรับผู้ศึกษาต้องแยกแยะกันถูกต้อง ลองอ่านบทความของผู้ที่ศึกษาพระสมเด็จ กรุวัดกัลยาณมิตรฯ โดยตรงเกี่ยวกับการตรวจสอบอายุมวลสารหรือส่วนผสมที่นำมาใช้สร้างพระ ดังนี้
ผู้เขียน Blog แนะนำให้ใช้วิจารญาณในการอ่านบทความที่นำมาเสนอต่อไปนี้
ซึ่งข้อความทั้งหมดเป็นการคัดลอกมาจากบุคคลที่ได้ศึกษาพระกรุนี้เช่นเดียวกับ
ผู้เขียน
บทความของผู้ศึกษาพระสมเด็จกรุวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร
"พระสมเด็จกรุวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร" มีการสุ่มตัวอย่างตรวจสอบเรื่องอายุมวลสารของพระ ที่ “สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว รอใบรับรองผล
เรื่องของพระสมเด็จที่บรรจุอยู่ในกรุวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร
หลังจากเจดีย์ในวัดกัลยาได้ถูกรื้อออก เมื่อต้นปี พ.ศ 2551พบว่ามีพระพิมพ์สมเด็จ บรรจุอยู่ภายในเป็นจำนวนมาก
และหลายพิมพ์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพิมใหญ่ ทรงเจดีย์ เส้นด้าย ฐานแซม ฐานคู่
ปรกโพธิ์และพิมพ์อกครุฑ ส่วนที่พบน้อยได้แก่พิมพ์ไสยาสน์ พิมคู่สององค์ติดกันซึ่งเป็นทรงเจดีย์ และพิมพ์ใหญ๋ พิมพ์สามเหลี่ยมเล็ก พิมพ์สามเหลี่ยมใหญ่(เหมือนกับพิมพ์ใหญ่ของของวัดสามปลื้ม) พิมพ์สังกระจาย นอกจากนี้ยังมีพิมพ์แปลกอีกแต่ไม่มากนัก พระในกรุวัดกัลยามีสองแบบคือ 1แบบปึกๆเกาะติดกัน9องค์ และแบบเป็นองค์เดียวซึ่งแบบนี้ด้านหลังจะถูกปิดด้วยรักและทอง หลังจากที่พระสมเด็จชุดนี้กระจายออกไป ก็เป็นที่สงสัยและหาหลักฐานกันว่า เป็นพระสมเด็จวัดระฆังใช่หรือไม่มาจนถึงวันนี้ ส่วนใหญ่นำไปให้บรรดาเซียนน้อยใหญ่ดู มักจะได้คำตอบว่า ยังไม่ถึงวัดระฆัง คำถามต่อไปก็คือดูจากอะไร เซียนตอบว่าดูจากพิมพ์ และคำถามต่อไปจากเจ้าของพระถามเซียนว่า แล้วเนื้อหละเป็นอย่างไร เซียนตอบหน้าตาเฉยว่าถ้าผิดพิมพ์แล้วผมก็จะไม่ดูเนื้อ ก็จบกันตรงนั้นคุณเซียนจะเล่นพระสมเด็จกันแค่8-9พิมพ์เท่านั้นเหรอ คุณจะไม่ศึกษามวลสารของเนื้อพระความเก่า มีอายุของเนื้อพระ หรือจะไม่ศึกษาประวัติการสร้างพระกันอย่างละเอียดและถูกต้องเลยหรือ จะเอากันแค่เล่นๆกันถูกพิมพ์ถูกเนื้อขายกันได้ ด้วยความเชื่อจากการยืนยันจากตัวบุคคลเพียง2คนที่ถูกเรียกว่าเซียนเท่านั้นก็พอแล้วหรือ ในปัจจุบันเซียนที่พอมีระดับ จะมีที่สิงสถิตย์กันตามห้างดังๆ จะหาพระให้กับบรรดาขาประจำที่เขาเชื่อใจกัน แต่ถ้าเซียนจะซื้อพระ ผู้ที่เป็นเจ้าของพระจะถูกกดราคากันมากๆแบบน่าสงสาร เพื่อนสมาชิกครับ พระที่ผมนำไปให้คุณเซียนตรวจสอบดูและได้รับคำตอบว่ายังไม่ถึงนั้นเป็นพระกรุวัดกัลยาพิมพ์ใหญ่ เนื้อดูง่ายมากแต่ขนาดจะโตกว่ากรุบางขุนพรหมเล็กน้อย เพื่อนๆครับผมยังไม่หมดความพยายาม ผมคิดว่าพระจะแท้หรือเก๊ไม่ใช่ไปฟังจากบุคคลที่สังคมมองกันว่าน่าเชื่อถือและมีความรู้ดูพระได้เป็นเซียนมีชื่อโด่งดัง ยังมีวิธีหาความจริงว่าพระสมเด็จของเรานั้นจะแท้หรือไม่ ก็ให้ดูจากอายุมวลสารของวัตถุดิบที่นำมาสร้างพระ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงสร้างทางกายภาพและเคมีขององค์พระประกอบควบคู่กัน ซึ่งในปัจจุบันนี้ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าไปมาก มวลสารที่สร้างพระมา สามารถตรวจสอบอายุของวัตถุต่างๆ ที่เป็นส่วนผสมหลักในองค์พระได้ ไม่จำเป็นต้องไปเชื่อตัวบุคคล ซึ่งอาจถูกหลอกได้
กล่าวอ้างถึงการตรวจเชิงวิทยาศาสตร์ของผู้ที่ทำการศึกษา
ผู้ที่นำตัวอย่างไปตรวจทางวิทยาศาสตร์กล่าวว่าเชื่อถือได้มี 2 วิธี
*** วิธีที่1 การตรวจด้วยรังสี
ด้วยการตรวจหาเปอร์เซ็นต์ค่าคาร์บอนจากมวลสารที่เป็นเนื้อพระ โดยนำมวลสารที่เป็นเนื้อพระหรือองค์พระสมเด็จนั้นมาบดให้ละเอียดด้วยปริมาณที่มากพอ(ประมาน3องค์)แล้วนำกรด hydro chloric มาทำปฎิกริยาจะเกิดควัน แล้วนำควันผ่านลงไปในของเหลว จากนั้นจะนำของเหลวเอาควันนั้นไว้ไปผ่านเข้าระบบตามกรรมวิธีของสถาบัน วิธีจะไม่ค่อยมีผู้นิยมเพราะต้องบดพระสมเด้จให้เป็นผงถึง3องค์ หากมีเพียง1-3องค์ก็จะไม่สามาถรกระทำได้ นอกจากว่าจะมีอยู่เป็นจำนวนมาก และอยากพิสูจน์ว่าเป็นสมเด็จแท้หรือไม่ ด้วยการดูอายุของวัตถุที่มีการนำมาสร้างก็จะกระทำได้ เช่นกรณี ผู้ที่มีสมเด็จจากกรุวัดกัลยามากๆการทดสอบหรือตรวจอายุมวลสารของพระ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายให้กับทางสถาบัน ประมาณ7500บาท ต่อครั้ง ระยะเวลาการตรวจจะประมาณ 2-3 สัปดาห์จึงจะรู้ผล
*** วิธีที่2 การตรวจด้วยเคมี
เป็นการตรวจหาอายุมวลสารของพระ การสร้างพระเนื้อผง เช่นพระสมเด็จ ด้วยวิธีทางเคมี วิธีนี้นำพระสมเด็จที่ประสงค์จะตรวจอายุการสร้างมา1องค์ ไม่ต้องทำลายด้วยการบดเป็นผง ผู้ตรวจจะใช้วิธีเจาะรูเล็กๆเพื่อนำผงพระเพียงเล็กน้อย มาทำปฎิกริยากับน้ำยาทางเคมีจากนั้นจะตรวจผลด้วยกล้องจุลทัศน์ ที่มีกำลังขยายสูงมากแล้วนำผลมาเทียบกับตารางแล้วแปลออกมาเป็นปี ที่พระองค์นี้ได้สร้างมาแล้ว การตรวจสอบด้วยวิธีนี้พระจะไม่ชำรุด ระยะเวลารอผลไม่นานประมาณ20นาที ก็จะทราบอายุของการสร้างพระ มีค่าใช่จ่ายองค์1000บาท หากพระแท้จะต้องเพิ่มอีก200บาทเป็นค่าใบรับรองผลการตรวจจากหน่วย (ถ้าพระไม่แท้ไม่เอาหนังสือก็ไม่ต้องชำระ) ผมได้นำพระกรุวัดกัลยาไปตรวจทั้ง2แห่ง ผลปรากฏออกมาคือ
จากผลการตรวจด้วยวิธีที่1 พระชุดนี้สร้างระหว่างปี พ.ศ.2408-2413
จากผลการตรวจด้วยวิธีที่2 คือทางเคมี
ผมนำไปตรวจหลายองค์
องค์ที่1อายุการสร้างมากกว่า142ปี
องค์ที่2 อายุการสร้างมากกว่า143ปี
องค์ที่3 อายุการสร้างมากกว่า146ปี (พระชุดนี้เป็นพิมพ์เกศทะลุ ซุ้มทั้ง4องค์)
*** สรุปผลจากการตรวจพระสมเด็จกรุวัดกัลยาทั้ง2วิธีนี้ได้ผลตรงกัน ทั้ง2สถาบันนี้อยู่คนละแห่ง ไม่รู้จักกัน และผมก็ไม่ได้บอกว่าไปตรวจที่ไหนมา ผมจึงมั่นใจ100เปอร์เซ็นต์ พระสมเด็จ กรุวัดกัลยานี้ เป็นพระที่สมเด็จพุฒาจารย์โตเป็นผู้สร้างขึ้น ใครยังไม่มีก็หาเก็บเอาไว้ใช้ เพราะเป็นของดีที่ราคายังไม่สูง แต่ระวังอย่าไปจับเอาของฝีมือก็แล้วกัน เพื่อนๆสมาชิกช่วยแชร์ข้อความนี้ให้เพื่อนได้ทราบกันด้วยนะครับจะขอบคุณมากๆ
งานสัมมนาเชิงวิชาการเรื่อง พระสมเด็จวัดระฆังบรรจุกรุ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2556
โดยท่านพลเรือเอกนาวี ศานติกะนาวิน
https://m.youtube.com/watch?v=p6doiiDbsNI
https://m.youtube.com/watch?v=IIvwMPlnIqk
https://m.youtube.com/watch?v=oyUwk9fOOvQ
https://m.youtube.com/watch?v=BnatxcJkzHI
ตัวอย่างรายงานผลการตรวจวิเคราะห์
หนังสือรับรองฉบับนี้ มีการดัดแปลงแก้ไข
เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนในการศึกษาเรียนรู้เท่านั้น
ห้ามนำไปอ้างอิงเพื่อประกอบการจำหน่ายพระเครื่องโดยเด็ดขาด
หรือนำไปแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบด้วยประการใดๆทั้งสิ้ง
ผู้ดัดแปลงแก้ไขและอนุญาตให้เผยแพร่ : ท่านพลเรือเอกนาวี ศานติกะนาวิน
ข้อแนะนำเพิ่มเติมของผู้เขียน Blog
ข้อความที่คัดลอกมาจากผู้อ้างว่าเคยศึกษาและนำพระสมเด็จกรุวัดกัลยาณมิตรฯไปตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ เป็นเพียงการกล่าวอ้าง แต่ยังไม่มีหลักฐานใดๆที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงแนะนำให้ผู้ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม บทความดังกล่าวข้างต้นจำเป็นต้องตรวจสอบเนื้อหาบางอย่างอีกครั้ง เช่น อายุการสร้างเป็นการประมาณการและสันนิษฐานข้อมูลเท่านั้น ต้องให้หน่วยงานรับผิดชอบ ออกมาแถลงการณ์อย่างเป็นทางการ อธิบายและชี้แจงรายละเอียดอีกครั้ง
......
หมายเหตุ ข้อความทั้งหมดภายใน Blog ยังไม่มีความสมบูรณ์พร้อมในรายละเอียดของข้อมูลต่างๆ สามารถแก้ไขปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์มากที่สุดได้ตลอดเวลา โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ผู้อ่านจำเป็นต้องติดตามข่าวสารอยู่ตลอดเวลา เพื่อเป็นประโยชน์แก่ตัวท่านเอง หากมีการแก้ไขปรับปรุงข้อมูลและโปรดใช้วิจารณญาณในการศึกษา ข้อมูลทั้งหมดเป็นการบรรยายเชิงบอกเล่าเท่านั้น
ปรับปรุงแก้ไขครั้งล่าสุด 23/01/2562 เวลา 09:59 น.